วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลักษณะภูมิประเทศ




             ลักษณะภูมิประเทศ มีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดิน และ พื้นน้ำ ประกอบด้วย เทือกเขาสูงอุดม ด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทาง ส่วนบริเวณหมู่เกาะต่างๆ ทางด้านใต้ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกัน ตอนเหนือ เป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลาง เป็นที่ราบ ลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ แล้วลาดลงเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สภาพภูมิประเทศที่ปรากฏจึงแบ่ง เป็น 4 ลักษณะ
1. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะ สำหรับทำนาข้าว และปลูกผลไม้
2. ที่ราบบริเวณภูเขา บริเวณนี้ มีพื้นที่กว้างขวางมาก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม แก่การทำสวนผลไม้ ยางพารา และ สับปะรด
3. ที่สูงบริเวณภูเขา บริเวณที่เป็นเกาะต่างๆ ซึ่งส่วนมาก มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้
4. ที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล บริเวณ พื้นที่แห่งนี้เป็นป่าชายเลน อย่างหนาแน่น และ ยังเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำ บางชนิดด้วย

จวนเรสิดังกัมปอร์ต


จวนเรสิดังกัมปอร์ต( Residence Kampot)
             ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยาลดชั้น เคยใช้เป็นที่พำนักนักของข้าหลวงฝรั่งเศส เรียกตำแหน่งนี้ว่าเรสิดัง (Resident) ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน ในระหว่างปี พ.ศ. 2453-2464 ต่อมาใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตราดอยู่ระยะหนึ่ง (ในระหว่างปี พ.ศ. 2450-2471) ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้เป็นสำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม แต่ยังคงรูปแบบประติมากรรมเดิมไว้


            เรสิดังส์กัมปอร์ต หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “จวนเรสิดังส์” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองตราด ไปตามถนนหลักเมือง ใกล้กับโรงเรียนอนุบาลตราด ในอดีตเรสิดังส์กัมปอร์ตเคยเป็นที่ทำการของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ในสมัยที่ตราดถูกยึดครองโดยฝรั่งเศส ดูจากลักษณะสถาปัตยกรรมเรสิดังส์มิได้โดดเด่นเป็นพิเศษแต่อย่างใด แต่สาเหตุที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ก็เพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนใจชาวเมืองตราดว่าดินแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยถูกครอบครองโดยฝรั่งเศส สมัยที่มีการแผ่ขยายล่าอาณานิคม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ

คำขวัญจังหวัดตราด

คำขวัญ ประจำจังหวัด
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี
ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพา
             เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย 
             ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด   เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตรา ดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรีในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราดสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้า ผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้ กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450  ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทย อย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้  ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
            การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อ ไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส   ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส  ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตราด






ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตราด
                 
               รูปเรือใบแล่นในทะเลกับโป๊ะของชาวประมง เบื้องหลังเป็นเกาะช้าง หมายถึง จังหวัดตราด
  มีเกาะเป็นจำนวนมาก และเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือเกาะช้าง การที่มีพื้นที่ติดกับทะเลราษฎรจึงยึดถือการประมงเป็นอาชีพหลักมาแต่โบราณ (เดิมจังหวัดตราดใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือรบหลวงตราด)